ปัญหาคุณภาพอากาศจาก PM2.5 ในประเทศไทย

รูปจาก  https://www.thaihealth.or.th

ทุกวันนี้ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของประเทศไทยคือ ปัญหาหมอกควันอันเกิดขึ้นจากฝุ่น PM2.5 โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งพื้นที่ทางภาคเหนือหลายจังหวัดของประเทศไทยอันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง เป็นต้น

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร ?

หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริกา US. EPA (United State Environmental Protection Agency) ได้ทำการกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์เอาไว้โดยใช้ค่า PM (Particulate Matters) เป็นเกณฑ์ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ดังนี้ฝุ่น PM 10 หรือที่โดยทั่วไปเรียกว่า “ฝุ่นหยาบ” (Course Particles) คือ อนุภาคฝุ่นละอองในอากาศที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2.5 – 10 ไมครอน ฝุ่นประเภทนี้เมื่อรวมกันเป็นจำนวนมากแล้วมักจะสังเกตเห็นได้ง่าย เช่น ฝุ่นที่เกาะอยู่ตามข้าวของเครื่องใช้, เกสรดอกไม้ หรือฝุ่นละอองจากงานก่อสร้าง เป็นต้น ฝุ่น PM 2.5 หรือที่เรียกว่า “ฝุ่นละเอียด” (Final Particles) คือ อนุภาคฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 2.5 ไมครอน

รูปจาก https://tips.thaiware.com

สำหรับแหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5 ก็มักมาจากควันท่อไอเสียรถยนต์, โรงงานไฟฟ้า,
โรงงานอุตสาหกรรม, ควันที่เกิดจากการหุงต้มอาหารด้วยฟืน, ควันจากการเผาขยะ, ไฟป่า รวมทั้งการทำปฏิกิริยาของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ก็มีส่วนก่อให้เกิดฝุ่นประเภทนี้ได้ด้วยเช่นกัน

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

ในวันที่อากาศไม่ดี มีค่าฝุ่นมลพิษสูง หลายคนคงรู้สึกแสบตา แสบจมูก เจ็บคอ

  • ระบบที่มีผลกระทบมาก คือระบบทางเดินหายใจ เมื่อหายใจเอาฝุ่น PM2.5เข้าไป จะรู้สึกแสบจมูก ไม่สบาย ไอและมีเสมหะได้ ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคภูมิแพ้,โรคปอด (เช่น หอบหืด, ถุงลมโป่งพอง) ต้องระวังสุขภาพเป็นพิเศษ เนื่องจากฝุ่นนี้จะทำให้โรคกำเริบได้ง่าย
  • ในระยะยาวมีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้

รูปจาก  https://aboutmom.co

รูปจาก  https://tips.thaiware.com

ค่า AQI และค่าฝุ่น PM 2.5 แตกต่างกันอย่างไร ?

ทางกรมควบคุมมลพิษ (Pollution Control Department) ได้ทำการกำหนดค่า AQI (Air Qulity Index) หรือค่าดัชนีคุณภาพอากาศ
เอาไว้ทั้งหมด 6 ระดับ ดังนี้

รูปจาก กรมควบคุมมลพิษ (Pollution Control Department)

แต่ค่า AQI นี้ไม่ได้ตรวจวัดเฉพาะแค่ฝุ่น PM 2.5 เท่านั้น ยังรวมปริมาณฝุ่น PM 10 และก๊าซที่เป็นมลพิษในอากาศอย่าง โอโซน (O3), คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO), ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ร่วมด้วย จึงทำให้ปริมาณค่า AQI กับค่าฝุ่น PM 2.5 ในอากาศที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก และสำหรับผู้ที่ติดตามปริมาณค่าฝุ่นในอากาศมาตลอดก็จะสังเกตเห็นได้ว่าค่า AQI ของพื้นที่ส่วนมากในประเทศไทยโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ณ ขณะนี้นั้นเป็นสีส้ม-แดง ที่อยู่ในระดับอันตราย (สามารถทำการตรวจเช็คได้จากเว็บไซต์ https://aqicn.org/here/ หรือเช็คผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ได้)

ปัญหา PM 2.5 นี้เริ่มรุนแรงขึ้นมาในประเทศไทยประมาณปี พศ. 2561คือประมาณ 3 ปีที่แล้วต่อเนื่องกันมาทุกปี โดยเริ่มเกิดเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวประมาณเดือนธันวาคม และจะบรรเทาเบาบางลงเมื่ออากาศร้อนขึ้นประมาณเดือนเมษายน ฝุ่นPM 2.5 มาจากหลายแหล่งกำเนิด เช่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์โ ดยเฉพาะรถดีเซลเก่าๆ ที่ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ไม่ดี การเผาขยะ การเผาเพื่อเตรียมพื้นที่การการทำเกษตรกรรม ไฟป่าทั้งที่เกิดจากตามธรรมชาติและการลักลอบเผาป่า การก่อสร้างและโรงงานอุตสาหกรรม รัฐบาลควรหาทางออกที่ยั่งยืน นอกจากการแก้ปัญหาภายในประเทศแล้ว บางครั้งฝุ่น PM 2.5 ก็มาจากกิจกรรมที่มีผลเสียต่อคุณภาพอากาศจากประเทศเพื่อนบ้านรอบรอบเราได้เช่นกัน รัฐบาลจึงควรมีข้อตกลงเพื่อแก้ปัญหานี้ร่วมกับประเทศต่างๆที่อยู่รอบประเทศของด้วย

บรรณานุกรม

เว็บไซต์ กรมควบคุมมลพิษ (Pollution Control Department)

https://tips.thaiware.com
https://www.thaihealth.or.th
http://theworldmedicalcenter.com
https://aboutmom.co