05 ส.ค. คู่มือการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารตามค่า IAQ
เพราะคุณภาพอากาศ คือองค์ประกอบสำคัญของการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น การดูแลควบคุมให้ภายในอาคารสถานที่ทำงานมีคุณภาพอากาศที่ดี จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญ บทความนี้จึงจะมาอธิบายว่า IAQ คืออะไร เพราะยิ่งผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องนี้มากเท่าไร ก็ยิ่งสามารถควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารให้ดีได้เท่านั้น
IAQ (Indoor Air Quality) คืออะไร ?
IAQ หรือ Indoor Air Quality คือคุณภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดระดับความสะอาดและความปลอดภัยของอากาศภายในสถานที่ปิด ซึ่งค่า IAQ สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อทั้งสุขภาพ ความรู้สึกสบาย และประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ที่อยู่ในสถานที่ดังกล่าว คุณภาพอากาศที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น แต่ยังช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ อาการแพ้ และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากมลพิษในอากาศ
ทำไมผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในการควบคุมค่า IAQ ให้ได้มาตรฐาน ?
- เพื่อให้เป็นไปตามประกาศกรมอนามัย : ประการแรก การควบคุม IAQ คือการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประกาศกรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตาม การละเลยมีบทลงโทษทางกฎหมาย รวมถึงส่งผลต่อสถานะใบอนุญาตประกอบกิจการ
- เพื่อสุขภาพที่ดีของพนักงาน : พนักงานคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร ดังนั้น การติดตั้งระบบระบายอากาศในอาคารเพื่อให้ค่า IAQ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วย ลดอัตราการลาป่วย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ยิ่งไปกว่านั้น การที่พนักงานทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศบริสุทธิ์ก็ย่อมมีสมาธิ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้น สามารถสร้างผลงานให้แก่องค์กรได้มากขึ้น
- เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร : ในยุคที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในคุณภาพอากาศภายในอาคารย่อมช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร ทำให้ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ไปจนถึงสาธารณชนมองว่าองค์กรของคุณไม่ได้หวังแค่ผลกำไร แต่ยังเปี่ยมด้วยคุณธรรมอีกด้วย
- เพื่อลดต้นทุนระยะยาว : แม้ว่าการลงทุนในระบบระบายอากาศในอาคารเพื่อให้มีค่า IAQ ตามมาตรฐานอาจมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่สูง แต่ในระยะยาวจะช่วยประหยัดต้นทุนได้มาก ทั้งในแง่ของค่ารักษาพยาบาลพนักงาน การลดการสูญเสียชั่วโมงทำงานจากการเจ็บป่วย และการประหยัดพลังงานจากระบบปรับอากาศที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ค่า IAQ ที่เหมาะสมตามพารามิเตอร์ที่ผู้ประกอบการต้องควบคุม
การควบคุม IAQ ให้เป็นไปตามมาตรฐานนั้น ผู้ประกอบการต้องดำเนินการให้คุณภาพอากาศภายในอาคารสำนักงาน หรือโรงงานอยู่ในเกณฑ์พารามิเตอร์ ดังนี้
-
- อุณหภูมิ : ควรอยู่ระหว่าง 24-26 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เหมาะกับการทำงานมากที่สุด
- ความชื้นสัมพัทธ์ : 50-65% คือความชื้นที่เหมาะสม ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา แบคทีเรีย และไรฝุ่น อีกทั้งยังช่วยลดความรู้สึกอึดอัดและไม่สบายตัว
- การเคลื่อนที่ของอากาศ : ควรน้อยกว่า 0.30 เมตรต่อวินาที
- คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) : ค่ามาตรฐาน CO2 ในอาคารต้องไม่เกิน 1,000 PPM เพราะระดับ CO2 ที่สูงเกินไปทำให้เกิดอาการง่วงนอน ปวดศีรษะ และลดประสิทธิภาพการทำงาน
- ฝุ่นละออง :
- อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ต้องไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
- อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
- สารอินทรีย์ระเหยง่ายรวม (TVOC) : ต้องไม่เกิน 1,000 PPB โดย TVOC มาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ดังนั้น การติดตั้งระบบระบายอากาศในอาคารที่ได้มาตรฐานเพื่อควบคุมระดับ TVOC จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ
- คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) : เป็นก๊าซพิษที่อันตรายมาก การควบคุมระดับ CO เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่ในอาคาร โดยระดับที่เหมาะสมคือไม่เกิน 9 PPM CO
- ฟอร์มาลดีไฮด์ (HCHO) : นี่คือสารก่อมะเร็งที่พบได้ในวัสดุก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์บางชนิด ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว ค่าที่เหมาะสมคือไม่เกิน 0.08 PPM
- โอโซน (O3) : ถึงแม้โอโซนจะมีประโยชน์ในชั้นบรรยากาศ แต่ในระดับพื้นดินสามารถก่อให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจได้ ดังนั้นค่ามาตรฐานจึงต้องไม่เกิน 0.05 PPM
- เชื้อจุลินทรีย์ :
- เชื้อแบคทีเรียรวม : ไม่เกิน 500 โคโลนีต่อลูกบาศก์เมตร
- เชื้อรารวม : ไม่เกิน 500 โคโลนีต่อลูกบาศก์เมตร
Health & Envitech บริการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารครบวงจร
ถึงแม้จะมองไม่เห็น แต่คุณภาพอากาศ IAQ คือสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น ผู้ประกอบการท่านใดอยากให้อาคารสำนักงานมีคุณภาพอากาศที่ปลอดภัยต่อพนักงาน รวมถึงเป็นไปตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565 สามารถใช้บริการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารกับ Health & Envitech ได้เลย โดยเรามีบริการเก็บตัวอย่าง ตรวจวัด และวิเคราะห์ผลการทดสอบคุณภาพอากาศภายในอาคาร โดยใช้พารามิเตอร์เดียวกับประกาศกรมอนามัย พร้อมเครื่องมือทันสมัยมาตรฐานระดับโลก สามารถนำค่าที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาต่อได้อย่างตรงจุด สนใจรับคำปรึกษาหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2952-6305-9, LINE Official https://lin.ee/5oJIwdk หรืออีเมล service@healthenvi.com
ข้อมูลอ้างอิง:
- Introduction to Indoor Air Quality. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 จาก
https://www.epa.gov/indoor-air-quality-iaq/introduction-indoor-air-quality