ระดับแสงที่เหมาะสมในชีวิตประจำวันภายในอาคารทำงาน

เข้าใจค่า Lux มาตรฐานความสว่างภายในอาคารที่ช่วยเสริมการทำงาน

ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน บ้าน หรือพื้นที่สาธารณะ ‘แสงสว่าง’ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิต ซึ่งสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ความสบายตา รวมถึงประสิทธิภาพการทำงาน เนื่องจากแสงที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดความเมื่อยล้าทางสายตา ปวดศีรษะ หรือแม้กระทั่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานความสว่างภายในอาคารจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างถูกต้อง เพื่อส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

รู้จักค่า Lux หน่วยวัดระดับแสงที่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน

ค่า Lux เป็นหน่วยวัดความเข้มของแสงสว่างในพื้นที่ โดย 1 Lux จะเท่ากับการที่แสงสว่าง 1 ลูเมนกระจายตัวบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร ค่า Lux จึงมีความสำคัญในการกำหนดระดับแสงที่เหมาะสมสำหรับการทำงาน หรือการใช้ชีวิตในแต่ละพื้นที่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ

  • เพิ่มความสบายตา ลดอาการเมื่อยล้าทางสายตาและป้องกันปัญหาสุขภาพตาจากการเพ่งทำงาน
  • เสริมความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ที่มีการมองเห็นไม่ค่อยชัดเจน
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน แสงสว่างที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสมาธิและประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น
  • สร้างบรรยากาศที่เหมาะสม ส่งเสริมความรู้สึกผ่อนคลายในพื้นที่

มาตรฐานความสว่างภายในอาคาร

ตามประกาศของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใน พ.ศ. 2561 ได้มีการกำหนดค่า Lux มาตรฐานสำหรับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ดังนี้

มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ

บริเวณลักษณะพื้นที่ ค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่าง (LUX)
ลานจอดรถ ทางเดิน บันได ภายนอกอาคาร 50
ทางเดินบันได ทางเข้าห้องโถง ภายในอาคาร 100
ห้องพักฟื้นสำหรับการปฐมพยาบาล ห้องพักผ่อน 50
ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า 100
โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร ห้องตรวจรักษา 300
ห้องสำนักงาน ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย 300
ห้องเก็บวัตถุดิบ บริเวณห้องอบ 

หรือห้องทำให้แห้งของโรงซักรีด

100
คลังสินค้า ห้องควบคุม ห้องสวิตช์ 200
บริเวณเตรียมการผลิต พื้นที่บรรจุภัณฑ์ 300

 

มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน (โรงงาน พื้นที่การผลิต คลังสินค้า)

ลักษณะงาน ค่าความเข้มของแสงสว่าง (LUX)
ชิ้นงานมีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้อย่าง

ชัดเจน มีความแตกต่างของสีชัดเจนมาก เช่น การรีดเส้นด้าย การซักรีด การปั๊มขึ้นรูปแก้ว งานเชื่อมเหล็ก การประกอบ เตรียมวัตถุดิบ

200-300

ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง สามารถมองเห็นได้

และมีความแตกต่างของสีชัดเจน เช่น งานบรรจุน้ำลงขวดหรือกระป๋อง การทำงานไม้ขนาดปานกลาง

300-400

ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง หรือเล็ก สามารถ

มองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจนและมีความแตกต่างของสี

ปานกลาง เช่น การเตรียมอาหาร งานประจำในสำนักงาน งานออกแบบและเขียนแบบ งานประกอบรถยนต์และตัวถัง

400-500

ชิ้นงานมีขนาดปานกลาง หรือเล็ก สามารถ

มองเห็นได้แต่ไม่ชัดเจน ต้องใช้สายตาในการทำงานค่อนข้างมาก เช่น งานระบายสี งานพิสูจน์อักษร

500-600

ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่

ชัดเจน ต้องใช้สายตาในการทำงานมาก เช่น การปฏิบัติงานที่ชิ้นงานมีขนาดตั้งแต่ 25 ไมโครเมตร

700-800

ชิ้นงานมีขนาดเล็ก สามารถมองเห็นได้แต่ไม่

ชัดเจน ต้องใช้สายตาและใช้เวลาในการทำงาน เช่น การตรวจสอบ การตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยมือ การเทียบสีในงานย้อมผ้า การร้อยตะกร้อ

800-1,200

ชิ้นงานมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้

อย่างชัดเจน มีความแตกต่างของสีน้อยมาก ต้องใช้สายตาเพ่งในการทำงานมาก เช่น งานตรวจสอบชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็ก งานละเอียดที่ทำที่โต๊ะ หรือเครื่องจักร ชิ้นงานที่มีขนาดเล็กกว่า 25 ไมโครเมตร

1,200-1,600

ชิ้นงานมีขนาดเล็กมากเป็นพิเศษ ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน มีสีไม่แตกต่างกัน ต้องใช้สายตาเพ่งในการทำงานและความชำนาญสูง เช่น การเจียระไนเพชรพลอย งานทางการแพทย์ 

2,500 หรือมากกว่า

 

พนักงานซ่อมบำรุงกำลังเช็กและทำความสะอาดหลอดไฟเพื่อรักษามาตรฐานความสว่างภายในอาคาร

การปรับปรุงค่าความสว่างให้เป็นไปตามมาตรฐาน

การปรับปรุงค่าความสว่างให้ตรงตามมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความสะดวกสบายของผู้ใช้งานด้วย ซึ่งการปรับปรุงสามารถทำได้โดย

  • เลือกหลอดไฟที่เหมาะสม โดยเลือกใช้หลอดไฟที่มีค่าความสว่าง (Lumens) สอดคล้องกับค่า Lux ที่ต้องการ 
  • ตำแหน่งการติดตั้งหลอดไฟ ควรติดตั้งหลอดไฟในตำแหน่งที่สามารถกระจายแสงได้อย่างทั่วถึง เช่น บริเวณเพดาน หรือจุดที่ไม่มีเงาบดบัง รวมถึงใช้อุปกรณ์สะท้อนแสงเพื่อช่วยเพิ่มความสว่าง
  • การใช้ Lux Meter เพื่อตรวจสอบและวัดค่าความสว่างในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้ทราบว่าความสว่างตรงตามมาตรฐานหรือไม่ และสามารถปรับปรุงได้ตามความจำเป็น
  • การบำรุงรักษา ด้วยการทำความสะอาดหลอดไฟและโคมไฟอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นที่อาจลดประสิทธิภาพของแสง และตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ยังอยู่ในสภาพที่ดี

Health & Envitech บริการตรวจวัดแสงสว่าง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน

สำหรับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของโรงงานที่ต้องการตรวจวัดแสงสว่างและปรับปรุงระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย Health & Envitech พร้อมให้บริการตรวจวัดด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง การตรวจวัดสารเคมีอันตราย การตรวจวัดความร้อน การตรวจวัดเกี่ยวกับที่อับอากาศ การตรวจวัดความสั่นสะเทือน เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและระดับมาตรฐานที่หน่วยงานกำหนด โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และวิเคราะห์ผลการตรวจวัดอย่างละเอียด เพื่อคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดียิ่งขึ้น สนใจรับคำปรึกษาหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2952-6305-9, LINE Official https://lin.ee/5oJIwdk หรืออีเมล service@healthenvi.com

 

ข้อมูลอ้างอิง: 

  1. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 จาก https://osh.labour.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1264%3Aupdate-&catid=1%3Anews-thai&Itemid=201