มลพิษทางน้ำคืออะไร?

มลพิษทางน้ำ คืออะไร

มลพิษทางน้ำคืออะไร?

หนึ่งในความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘มลพิษทางน้ำ’ คือการถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว และไม่ใช่ปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญ ทว่าแท้จริงแล้วสิ่งนี้ใกล้ตัวอย่างคาดไม่ถึง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กซึ่งเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลด้านสุขอนามัยอย่างเต็มที่

ดังนั้นผลกระทบมลพิษทางน้ำจึงเป็นสิ่งที่ควรตระนัก เพื่อให้บุตรหลานของเราได้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง และห่างไกลจากโรคภัยที่อาจแอบแฝงมาจากน้ำที่เราใช้อุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน
บทความนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเรื่องของมลพิษทางน้ำคืออะไร และจะส่งผลกระทบกับเด็ก ๆ อย่างไร หากพวกเราทุกคนไม่ร่วมมือช่วยกัน!

บทความนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเรื่องของมลพิษทางน้ำคืออะไร และจะส่งผลกระทบกับเด็ก ๆ อย่างไร หากพวกเราทุกคนไม่ร่วมมือช่วยกัน!

ทำความรู้จักกับมลพิษทางน้ำ

สภาป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources Defense Council, Inc.) ได้นิยามความหมายของมลพิษทางน้ำไว้ว่าเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อสารอันตราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารเคมีหรือจุลินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ เช่น ลำธาร แม่น้ำ ทะเลสาบ มหาสมุทร ชั้นหินอุ้มน้ำ หรือแหล่งน้ำอื่น ๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ

มลพิษทางน้ำเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลากหลายประการ เช่น

    1. การเกษตร: ภาคเกษตรกรรมไม่เพียงเป็นผู้บริโภคน้ำจืดรายใหญ่ที่สุดของโลกเท่านั้น โดยคิดเป็นอัตราส่วนกว่า 70% แต่การทำฟาร์มและปศุสัตว์ยังสร้างมลพิษร้ายแรงให้กับแหล่งน้ำอีกด้วย
      สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกครั้งที่ฝนตก ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ ที่ประกอบด้วยสารอย่างไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ซึ่งมีความเป็นพิษจะถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ นับเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่งต่อคุณภาพน้ำทั่วโลก โดยเฉพาะพิษที่ปนเปื้อนในสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่เป็นอันตรายต่อทั้งมนุษย์และสัตว์ป่า
    2. น้ำเสียจากครัวเรือนและอุตสาหกรรม: ไม่ว่าจะน้ำที่มาจากอ่างล้างหน้า โถส้วม น้ำที่ถูกทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้แต่น้ำที่ชะล้างพื้นผิวถนน อาคารบ้านเรือน ก็ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำทั้งสิ้น
      องค์การสหประชาชาติเผยว่าน้ำเสียมากกว่า 80 % ของโลกไหลสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านการบำบัดหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ยิ่งไปกว่านั้นในประเทศที่ด้อยพัฒนา ตัวเลขดังกล่าวอาจสูงถึง 95% เลยทีเดียว ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน ตลอดจนโลหะหนัก จะปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะย้อนกลับมาถึงทุกคน ที่ต้องได้รับผลกระทบมลพิษทางน้ำในที่สุด
    3. น้ำมัน: ทุกครั้งที่ท่อส่งน้ำมันใต้ทะเลเกิดการรั่วไหลจะกลายเป็นพาดหัวข่าวใหญ่ประจำวันเสมอ เนื่องจากผลกระทบมลพิษทางน้ำที่เกิดขึ้นนั้นร้ายแรง และยังสะเทือนไปเป็นวงกว้างที่ต่อเนื่องยาวนาน
    4. สารกัมมันตภาพรังสี: แม้ไม่ใช่มลพิษทางน้ำที่มีอยู่ทั่วไป แต่สารกัมมันตภาพรังสีคือมลพิษทางน้ำที่อันตรายที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย โดยส่วนใหญ่สารเหล่านี้จะถูกปล่อยออกมาจากการขุดแร่ยูเรเนียม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การผลิตยุทธโธปกรณ์ทางทหาร รวมไปถึงโรงเรียนแพทย์ที่ใช้วัสดุกัมมันตภาพรังสีเพื่อการวิจัย ซึ่งหากปล่อยปละละเลยให้สารชนิดนี้ปนเปื้อนและไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อุปโภคบริโภคอย่างร้ายแรง

สารพิษใดบ้างที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ

สารพิษที่ปนเปื้อน และเป็นสาเหตุให้เกิดมลพิษทางน้ำนั้นมีมากมาย อย่างไรก็ตาม มีสารอยู่ 3 ชนิดที่พบได้บ่อย และควรเฝ้าระวังมากที่สุด ได้แก่

    1. ตะกั่ว: ตะกั่วคือโลหะที่เป็นพิษและมีอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยระดับความร้ายแรงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของตะกั่วที่สัมผัส วิธีการสัมผัส (อากาศ น้ำ อาหาร) สภาพร่างกาย และอายุ โดยมีข้อมูลเผยว่า มากกว่า 20% ของการสัมผัสสารตะกั่วทั้งหมดในเด็กเกิดจากการบริโภคน้ำที่ปนเปื้อน
    2. ไนเตรต: อีกหนึ่งสารที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ และพบเห็นการปนเปื้อนได้บ่อยครั้ง ซึ่งหากเด็กหรือทารกดื่มน้ำที่มีไนเตรตปริมาณสูง อาจทำให้เกิด “Methemoglobinemia”โรคที่มีระดับ Methemoglobin สูงกว่าระดับปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง
    3. แมงกานีส: โลหะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติชนิดนี้จะชะล้างลงแหล่งน้ำจากหินและผิวดิน ซึ่งทำให้พบการปนเปื้อนในน้ำและอาหารได้บ่อยครั้ง

ผลกระทบมลพิษทางน้ำต่อเด็ก

องค์กร Water Charity For Safe Water & Sanitation ได้เผยข้อเท็จจริงที่น่าตกใจเกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก ๆ ว่าในทุก ๆ 90 วินาทีจะมีเด็กหนึ่งคนเสียชีวิตจากมลพิษทางน้ำ และเด็กอีกประมาณ 160 ล้านคนทั่วโลกต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการแคระแกร็น และภาวะทุพโภชนาการเรื้อรัง อันเป็นผลมาจากการบริโภคน้ำที่ปนเปื้อน

สาเหตุที่เด็กได้รับผลกระทบมลพิษทางน้ำรุนแรงกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากร่างกายที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ และเด็ก ๆ มักจะดื่มน้ำปริมาณที่มากกว่า ในอัตราส่วนต่อน้ำหนักหนึ่งปอนด์หากเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ โดยปริมาณสารพิษเพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลให้เด็กเกิดโรคกระเพาะ คลื่นไส้ อาเจียน ตะคริว ท้องร่วง และปวดศีรษะได้

นอกจากนั้นแมงกานีสที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำยังเป็นสาเหตุที่ทำให้การพัฒนาด้านไอคิว การพูด และพฤติกรรมการเข้าสังคม เป็นไปได้ช้ากว่าปกติ

สาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ มีอะไรบ้าง?

แนวทางป้องกันผลกระทบมลพิษทางน้ำให้ห่างไกลเด็ก ๆ

ถึงตรงนี้ ทุกคนคงเข้าใจแล้วว่ามลพิษทางน้ำคืออะไร และส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กอย่างไร ซึ่งถึงแม้จะเป็นเรื่องที่อันตราย แต่เราทุกคนสามารถร่วมมือกันป้องกันได้ ไม่ว่าจะบุคคลธรรมดาหรือภาคอุตสาหกรรม

บุคคลธรรมดาป้องกันผลกระทบมลพิษทางน้ำต่อเด็กได้อย่างไร?

สำหรับบุคคลธรรมดาสามารถป้องกันผลกระทบมลพิษทางน้ำได้หลากหลายวิธีเช่น

    1. เลือกซื้อน้ำและอาหารทะเลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือมีคุณภาพ
    2. ใช้เครื่องกรองน้ำสำหรับบริโภคภายในบ้าน
    3. อย่าทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงในท่อระบายน้ำ
    4. ล้างรถหรือทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ บนพื้นดิน เพื่อป้องกันการชะล้างสารเคมีบนพื้นถนนที่จะไหลลงสู่แหล่งน้ำ

ภาคอุตสาหกรรมป้องกันผลกระทบมลพิษทางน้ำต่อเด็กได้อย่างไร?

แน่นอนว่าแนวทางป้องกันการสร้างมลพิษทางน้ำที่ได้ผลที่สุดสำหรับภาคอุตสาหกรรมคือการไม่ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือหากจำเป็นต้องปล่อยก็ต้องผ่านขั้นตอนการบำบัดเสียก่อน

นอกจากนี้ อีกหนึ่งวิธีคือการให้ความสำคัญกับการตรวจวัดคุณน้ำ เพื่อนำมาประเมินว่าน้ำที่ปล่อยออกมามีค่าความเป็นพิษเกินเกณฑ์หรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การปรับปรุงมาตรฐานของโรงงานในขั้นต่อไป

Health & Envitech คือผู้ให้บริการตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบครบวงจร โดยทีมงานที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ผลการทดสอบเป็นไปตามวิธีมาตรฐานใน Standard methods for the examination of water and wastewater of APHA, AWWA and WEF ตามระเบียบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม นอกจากนี้เรายังมีบริการให้คำปรึกษาและติดตามมาตรการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมช่วยลดผลกระทบมลพิษทางน้ำที่ปล่อยออกมาให้มากที่สุด