ยกระดับความปลอดภัย ด้วยขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงาน

ในกระบวนการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม ย่อมเต็มไปด้วยความเสี่ยงทั้งจากเครื่องจักร สารเคมี มลพิษทางเสียง และปัจจัยอื่น ๆ แล้วในฐานะผู้ประกอบการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการของโรงงาน เราจะสามารถสร้างความปลอดภัยให้ทั้งพนักงานและชุมชนรอบข้าง รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง บทความนี้มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับความหมายและขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดมาฝากกัน

การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงานคืออะไร?

การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงาน หรือสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygiene) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการดูแล ตรวจสอบ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมให้ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนข้างเคียงโรงงาน ผ่านการประเมินปัจจัยต่าง ๆ เช่น เสียง แสงสว่าง แรงสั่นสะเทือน และความร้อน ไปจนถึงการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แล้วนำมาวิเคราะห์หรือทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เพื่อตรวจมาตรฐานการดำเนินงานของโรงงานว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการโรงงานจะต้องจัดการตรวจวัดสภาพแวดล้อมและรายงานสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสงสว่าง และความร้อน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งจะต้องตรวจโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญและรับรองการรายงานโดยผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีเท่านั้น

ข้อดีของการปฏิบัติตามขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงาน

แม้ว่าขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงานจะมีอยู่หลากหลายขั้นตอน ดูยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายเยอะ แต่บอกเลยว่าการตรวจวัดสภาพแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังส่งผลดีต่อโรงงาน พนักงาน และชุมชนรอบข้างอีกหลายประการ ดังนี้

เพิ่มความปลอดภัยให้พนักงานที่ปฏิบัติงานภายในโรงงาน

ไม่ว่าจะปฏิบัติงานแผนกไหนในโรงงานอุตสาหกรรม ความปลอดภัยย่อมเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งการตรวจสภาพแวดล้อมเป็นประจำ จะทำให้คุณได้รู้ว่าแสง เสียง ความร้อน สารเคมี อากาศ และปัจจัยอื่น ๆ อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อบุคคลหรือไม่ เพื่อให้สามารถหาแนวทางป้องกันได้อย่างทันท่วงที เพราะหากละเลยไป ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในระยะยาวได้

ลดผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียง

บ่อยครั้งที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่ ทำให้เสียง แสง ความร้อน และมลพิษต่าง ๆ อาจรบกวนการดำเนินชีวิตของผู้คน รวมถึงสารเคมีอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่างได้ เช่น อาการผื่นคัน อาการแสบจมูก น้ำมูกไหล หรือระบบทางเดินหายใจระคายเคือง เพื่อให้โรงงานและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนและปลอดภัยนั่นเอง

ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบบริเวณ

นอกจากผลกระทบต่อมนุษย์แล้ว อย่าลืมให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ สัตว์ และพืช ผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้ดินเสื่อมสภาพ น้ำในแหล่งน้ำกลายเป็นน้ำเสีย สัตว์ได้รับสารพิษเข้าไปในร่างกาย ดังนั้น การตรวจสภาพแวดล้อมทุกปี จะช่วยลดผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน

ขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงาน

ขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงาน

ด้วยข้อดีของการปฏิบัติตามขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงาน รวมทั้งข้อกำหนดทางกฎหมาย ทำให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งจำเป็นต้องตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงานเป็นประจำทุกปี โดยในปัจจุบันมีขั้นตอนการตรวจวัด ดังนี้

สำรวจจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

ขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงานขั้นตอนแรก คือการสำรวจว่าในโรงงานมีการทำกิจกรรมหรือดำเนินการด้านใดบ้าง เพื่อนำไปวางแผนวิเคราะห์ได้ถูกต้อง เช่น สภาพแวดล้อมทางเคมี สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ

การตรวจประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หลังจากสำรวจปัจจัยเสี่ยงแล้ว ลำดับถัดมา คือการใช้หลักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในการประเมินและตรวจวัดคุณภาพ เช่น ดัชนีความร้อน ความเข้มของแสงสว่าง เสียงที่ส่งผลต่อการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน ความเข้มข้นของสารเคมี เป็นต้น

การตรวจวัดด้านชีวภาพ

ขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงานขั้นตอนนี้ เป็นการตรวจวิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศ ทั้งปริมาณแบคทีเรียรวมและปริมาณเชื้อรารวม โดยต้องเก็บตัวอย่างอากาศไปเพาะเชื้อและวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการต่อไป

การตรวจวัดคุณภาพอากาศ

การตรวจคุณภาพอากาศจะช่วยให้คุณสามารถบริหารจัดการอากาศภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอาการเจ็บป่วยของผู้ที่อยู่ในอาคารได้ดี โดยต้องเปรียบเทียบเพื่อประเมินผลกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศด้วย

การประเมินตามหลักการยศาสตร์

การประเมินด้านนี้ คือการประเมินลักษณะการทำงานว่าอยู่ในท่าทางที่เหมาะสมหรือไม่ เพื่อป้องกันการเกิดอาการเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว หรือกล้ามเนื้อบาดเจ็บ ซึ่งจะประเมินทั้งร่างกายส่วนบนและลำตัว

การประเมินสภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศ

ใช้ประเมินสภาพในสถานที่ทำงานที่อับอากาศ ตั้งแต่การเตรียมพร้อม ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ไปจนถึงปริมาณออกซิเจน เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน

การประเมินระบบระบายอากาศ

ระบบระบายอากาศในโรงงานต้องได้มาตรฐาน ห้องปลอดเชื้อต้องสะอาด อากาศไหลเวียนได้ดี โดยใช้มาตรฐาน Federal Standard 209E และมาตรฐาน ISO Standard 14644-1 เป็นตัวชี้วัด

การประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไป

คุณภาพบรรยากาศทั่วไป ได้แก่ ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย ปริมาณสารพิษทางอากาศ ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละออง และระดับเสียงรบกวน เพื่อเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

การตรวจวัดสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน

อากาศจะถูกระบายออกจากโรงงานผ่านทางท่อระบายอากาศ หรือปล่อง โดยค่าฝุ่นละออง ค่าความทึบแสง ปริมาณโลหะ สารหนู ก๊าซ และสารเคมีอันตรายชนิดอื่น ๆ ต้องอยู่ในระดับที่กฎหมายกำหนด

การตรวจสอบคุณภาพน้ำ

ขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงานขั้นตอนสุดท้าย คือการตรวจคุณภาพน้ำบริโภค ต้องตรวจทั้งสี รส กลิ่น ความขุ่น ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณสารเคมี และการตรวจมาตรฐานน้ำทิ้งที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนข้างเคียงได้

สร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้พนักงานในโรงงาน สิ่งแวดล้อม และชุมชนข้างเคียง ด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอนการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในโรงงานและตรวจสารเคมีในพื้นที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ เลือก Health & Envitech บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงงานโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมวิเคราะห์ผลการตรวจวัดอย่างละเอียด เพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยในการดำเนินงาน สนใจรับคำปรึกษาหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2952-6305-9, LINE id: HealthandEnvitech หรืออีเมล service@healthenvi.com