01 เม.ย. เข้าใจความสำคัญของการตรวจความร้อนในที่ทำงาน
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ความจริงข้อนี้เชื่อว่าคนไทยทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว และลำพังแค่ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางอุณหภูมิเฉลี่ยเกิน 30 องศาเซลเซียสในทุกวัน ก็เป็นเรื่องที่บั่นทอนสุขภาพอยู่พอสมควร แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากต้องทำงานกับเครื่องจักรในอากาศร้อน ๆ ขั้นต่ำวันละ 8 ชั่วโมงเป็นประจำทุกวัน ?
แถมนอกจากความร้อนจากเครื่องจักรแล้ว ก็ยังมีความร้อนจากอากาศ และจากระบบระบายอากาศเสริมกันเข้าไปอีก ดังนั้น ในฐานะที่คุณเป็นผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม การให้ความสำคัญต่อการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรละเลย !
ความสำคัญของการตรวจความร้อนในที่ทำงาน
การตรวจความร้อนในที่ทำงาน เป็นมาตรการหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงาน รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอันตรายกับชุมชนข้างเคียง เพราะความร้อนในที่ทำงานหรือโรงงานอุตสาหกรรมล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อร่างกายของมนุษย์ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยก่อนตรวจวัด จะต้องประเมินความหนักเบาของงานก่อน เพื่อให้ผลการตรวจวัดสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง
ประเภทโรงงานที่ต้องได้รับการตรวจความร้อนในที่ทำงาน
- การผลิตน้ำตาลและการทำให้บริสุทธิ์
- การปั่นทอที่มีการฟอกหรือย้อมสี
- การผลิตเยื่อกระดาษหรือกระดาษ
- การผลิตทำยางรถยนต์หรือหล่อดอกยาง
- การผลิตกระจก เครื่องแก้วหรือหลอดไฟ
- การผลิตซีเมนต์หรือปูนขาว การถลุง หล่อหลอมหรือรีดโลหะ
นอกจากนี้ยังรวมถึงโรงงานหรือสถานประกอบที่มีแหล่งกำเนิดความร้อน สำหรับใช้ในกระบวนการผลิตและกระบวนการอื่น ๆ ที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากรังสี หรือระดับความร้อนที่สูงเกินมาตรฐานด้วย
ขั้นตอนการตรวจวัดความร้อนในโรงงาน
1. สำรวจสภาพแวดล้อมในโรงงาน
ให้เริ่มจากการสำรวจสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่ทำงานของโรงงานว่า แต่ละพื้นที่จะมีกิจกรรมและปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดความร้อนจากอะไรได้บ้าง โดยจะเรียกวิธีนี้ว่าเป็นขั้นตอนการทำ Walk Through Survey โดยจะกำหนดพื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานและพารามิเตอร์แต่ละประเภท จำนวนตัวอย่างแบบพื้นที่ (Area Simple) และตัวอย่างที่ตัวบุคคล (Personal Simple) เพื่อดำเนินการตรวจวัดและประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดตามกฎหมาย หรือมาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
2. ตรวจประเมินความร้อนด้วยเครื่องวัดความร้อนแบบ WBGT
การตรวจวัดความร้อนในที่ทำงาน โดยประเมินผ่านเครื่องวัดความร้อนแบบ WBGT (Wet Bulb Globe Temperature) ซึ่งเป็นดัชนีวัดสภาพความร้อนในสิ่งแวดล้อมการทำงานที่จะรายงานผลเป็นหน่วยองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์ เพื่อนำไปใช้ประเมินผลกระทบของร่างกายที่สะสมความร้อน ทั้งในระหว่างการปฏิบัติงาน และความร้อนจากสิ่งแวดล้อม จากวิธีการถ่ายเทความร้อน 3 แบบ ได้แก่ การนำ การพา และการแผ่รังสีความร้อน
นอกจากนี้การประเมินด้วยเครื่อง WBGT ยังอิงเกณฑ์จากระดับภาระงานเป็นหลัก เพราะในแต่ละระดับร่างกายมนุษย์ก็จะมีการเผาผลาญและใช้พลังงานแตกต่างกัน ส่งผลต่อการเกิดความร้อนสะสมภายในร่างกายที่แสดงออกเป็นตัวเลขทางอุณหภูมิ โดยจะทำการตรวจช่วงระยะเวลา 2 ชั่วโมงที่ร้อนที่สุด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ
3. ปรับปรุงระบบการทำงานภายในโรงงาน เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
หลังประเมินผลการตรวจวัดจากเครื่อง WBGT โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความร้อน และลักษณะความหนัก-เบาของงานกับเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และมาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกันไปแล้ว จะนำผลที่ได้ไปปรับปรุงระบบการทำงานภายในโรงงาน ให้สัมพันธ์กับเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เพื่อควบคุมความร้อนและความปลอดภัยต่อเครื่องจักร รวมถึงบุคลากรที่ทำงานได้อย่างมั่นใจ
อันตรายจากความร้อนในโรงงานที่สูงเกินมาตรฐาน
สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมจะต้องให้ความสำคัญต่อการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อนในพื้นที่ทำงาน เราจะแสดงคำตอบให้เห็นผ่านอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากความร้อนเกิน ซึ่งเกิดได้ทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานและเครื่องจักร ดังนี้
- อันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
-
- เกิดอาการอ่อนเพลีย ตะคริว หรือฮีตสโตรก ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง และภาวะเครียดได้อีกด้วย
- กระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและการใช้เครื่องจักร อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดที่ส่งผลให้บาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิตได้
- อันตรายต่อเครื่องจักร
-
- ชิ้นส่วนเครื่องจักรเสื่อมสภาพ มีอายุการใช้งานสั้นลง
- ประสิทธิภาพของเครื่องจักรทำงานได้ลดลง
- มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้สูง ทั้งระหว่างการใช้งานและปิดการใช้งาน
มาตรการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้านความร้อนในโรงงาน
เพื่อยกระดับความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน และลดความเสี่ยงจากความร้อนทั้งจากเครื่องจักร ระบบระบายกาศ และอุณหภูมินแต่ละวัน ผู้ประกอบการควรกำหนดมาตรการรับมือและจัดการความร้อนที่มีประสิทธิภาพ โดยดำเนินได้ตามแนวทาง ดังนี้
- ทำการตรวจความร้อนในที่ทำงานตามมาตรฐานและเกณฑ์ตามกฎหมายข้อบังคับอยู่เสมอ
- กำหนดให้ใส่อุปกรณ์ป้องกันความร้อน เพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกายของผู้ปฏิบัติงานไม่ให้เกิน 38 องศาเซลเซียส และไม่เกิดผลกระทบต่อสภาพร่างกาย และสุขภาพในระยะยาว
- หมั่นตรวจเช็กสภาพเครื่องจักรด้วยการซ่อมและบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อบำรุงรักษาตามแผน ป้องกันการชำรุดและความเสื่อสภาพของเครื่องจักร ที่ส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมได้
- เพิ่มมาตรการป้องกัน ติดตั้งระบบระบายอากาศ และเพิ่มฉนวนกันความร้อนที่ได้มาตรฐานสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
Health & Envitech บริการตรวจความร้อนในที่ทำงานที่ได้มาตรฐาน
เพิ่มความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมของคุณ เลือกใช้บริการตรวจความร้อนในที่ทำงานจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน ซึ่งที่ Health & Envitech เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยในการทำงาน มีบริการตรวจวัดสุขศาสตร์อุตสาหกรรมแบบครบวงจร พร้อมให้คำปรึกษาหลังการตรวจประเมิน เพื่อลดผลกระทบต่อพนักงานและสิ่งแวดล้อมด้วย สนใจรับคำปรึกษาหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2952-6305-9, LINE Official https://lin.ee/5oJIwdk หรืออีเมล service@healthenvi.com
ข้อมูลอ้างอิง:
- ความร้อนกับการทำงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 จาก https://www.innovative-instrument.com/
- ทำความรู้จัก มาตรฐานความปลอดภัย ในอุตสาหกรรมเป็นแบบไหน?. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 จาก https://www.kacha.co.th/
- การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน คืออะไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 จาก https://www.safesiri.com/