พนักงานผู้ชายกำลังตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักร

สาเหตุการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรคืออะไร ส่งผลอย่างไรบ้าง ?

การทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ในแง่หนึ่งทำให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในอีกแง่หนึ่งนั้นก็ก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะทางเสียง ความร้อน รวมถึงการสั่นสะเทือนด้วย ซึ่งสาเหตุของการสั่นสะเทือนคืออะไร ส่งผลกระทบต่อโรงงานและชุมชนใกล้เคียงอย่างไรบ้าง เรามีเกร็ดความรู้เรื่องการสั่นสะเทือนกับโรงงานอุตสาหกรรมมาบอกกัน

สาเหตุของการสั่นสะเทือนคืออะไร?

การเคลื่อนที่ หรือการทำงานของเครื่องจักร

อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติของการทำงานของเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็นการหมุนจากเครื่องจักรที่มีมอเตอร์ เกียร์ พัดลม หรือแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการกระทบกันในการทำงานของเครื่องจักรบางชนิด เช่น เครื่องตอกหมุด เครื่องเจาะ

ชิ้นส่วนเครื่องจักรชำรุด หรือไม่ได้มาตรฐาน

หากเครื่องยนต์ที่เคยทำงานปกติโดยไม่สั่นสะเทือน กลับเริ่มมีอาการแปลกไป ให้ต้องสงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจเกิดจากการสึกหรอของเครื่องยนต์ที่ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานเดิมที่เคยเป็น

ความไม่สมดุลของเครื่องจักร

มักเกิดขึ้นกับเครื่องจักรที่มีชิ้นส่วนหมุน  เช่น มอเตอร์ เพลา กังหันอากาศ ใบพัดเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากหากมวลของชิ้นส่วนเหล่านี้กระจายตัวไม่สม่ำเสมอรอบแกนหมุน จะทำให้เกิดแรงเหวี่ยงไม่สมดุล ซึ่งนำไปสู่การสั่นสะเทือนของเครื่องจักรทั้งชุด 

ผลกระทบของการสั่นสะเทือนต่อโรงงานและชุมชนใกล้เคียง

ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

พนักงานผู้ปฏิบัติงานเป็นบุคคลที่มีโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากต้องทำงานอยู่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับการสั่นสะเทือน จึงอาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย รวมถึงอาจส่งผลต่อระบบประสาท ไปจนถึงปัญหาการได้ยิน ซึ่งหากไม่มีการควบคุมและป้องกันที่เหมาะสม ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

สร้างความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง

ไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบในโรงงานเท่านั้น แต่การสั่นสะเทือนยังสามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียง ซึ่งส่งผลให้เกิดความรำคาญแก่ชุมชนโดยรอบ จากเสียงรบกวน หรือฝุ่นละออง ที่เกิดขึ้น โดยสามารถรบกวนการพักผ่อน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และสร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบ้าน หรือผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนโดยรอบโรงงานได้

ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างโรงงาน

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของการเกิดแรงสั่นสะเทือนคือ ผลกระทบที่จะเกิดกับโครงสร้างโรงงาน หรือแม้แต่อาคารโดยรอบ เนื่องจากการสั่นสะเทือนที่รุนแรงและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจสร้างความเสียหายให้โครงสร้างอาคารแตกร้าว ทรุดโทรม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการซ่อมแซม หรือเสริมความแข็งแรงเข้าไป ก็อาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการพังทลายของโครงสร้างได้ในที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญใช้เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน

วิธีวัดแรงสั่นสะเทือนอย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน

เครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน (Vibration Meter) เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถวัดและบันทึกข้อมูลการสั่นสะเทือนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งสามารถติดตั้งหัววัดแรงสั่นสะเทือน (Vibration Sensor) ได้บนพื้นผิวของเครื่องจักร หรือโครงสร้างที่ต้องการวัด เพื่อวัดค่าระยะทางของการสั่นสะเทือน (Displacement) วัดความเร็ว (Velocity) และอัตราเร่ง (Acceleration) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาตรวจจับความผิดปกติของการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในการใช้งานและวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ

การใช้บริการตรวจวัดการสั่นสะเทือนในโรงงาน

อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการวัดแรงสั่นสะเทือนที่ผู้ประกอบการหลายคนสนใจคือ การใช้บริการตรวจวัดการสั่นสะเทือนในโรงงาน ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ทำให้ไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์มาเอง เนื่องจากบริษัทรับตรวจวัดการสั่นสะเทือนมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ครบครัน พร้อมบุคลากรที่มีทักษะและประสบการณ์ในการวัดแรงสั่นสะเทือน จึงสามารถวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุ และแนะนำแนวทางแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคลดการสั่นสะเทือนในเครื่องจักร

หมั่นตรวจเช็กเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

การบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการลดการสั่นสะเทือน อีกทั้งยังสามารถทำให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุยืนยาวมากขึ้น โดยควรตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ โดยหากพบชิ้นส่วนชำรุด สึกหรอ ก็ควรทำการเปลี่ยนใหม่ทันที นอกจากนี้ยังควรหมั่นทำความสะอาดและหล่อลื่นเครื่องจักรตามคู่มือการใช้งาน

ติดตั้งอุปกรณ์ลดแรงสั่นสะเทือน

เครื่องจักรบางประเภทอาจมีการทำงานที่สร้างแรงสั่นสะเทือนมากอยู่แล้ว จึงอาจจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ลดแรงสั่นสะเทือนเสริม เช่น 

  • ตัวกันสะเทือน (Vibration Isolator) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งระหว่างเครื่องจักรกับฐานรอง เพื่อดูดซับและยับยั้งการถ่ายทอดแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักรไปยังโครงสร้างรอบข้าง
  • ตัวกันไหว (Vibration Damper) ที่สามารถดูดซับและลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นภายในเครื่องจักร เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนก่อนที่จะแพร่กระจายออกไปยังบริเวณอื่น
  • แผ่นกันสั่น (Vibration Pad) ซึ่งเป็นวัสดุยาง หรือพลาสติกพิเศษ มีคุณสมบัติในการดูดซับแรงสั่นสะเทือน นิยมใช้รองรับเครื่องจักร หรือฐานเครื่องจักร เพื่อลดการถ่ายทอดการสั่นสะเทือนไปยังพื้นหรือโครงสร้างอื่น

 

เมื่อทราบกันไปแล้วว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักรโรงงานคืออะไร จะสามารถป้องกันและหาแนวทางแก้ไขได้อย่างไรบ้าง ดังนั้น เจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ต้องอย่าลืมเลือกใช้บริการตรวจวัดการสั่นสะเทือนในโรงงานที่ได้มาตรฐานกับ Health & Envitech พร้อมวิเคราะห์ผลการตรวจวัดอย่างละเอียด เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ปฏิบัติงานและลดผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียงอย่างมีประสิทธิภาพ ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์สูง เพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยของพนักงานในองค์กร สิ่งแวดล้อม รวมถึงชุมชนโดยรอบ สนใจรับคำปรึกษาหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2952-6305-9, LINE Official https://lin.ee/5oJIwdk หรืออีเมล service@healthenvi.com

ข้อมูลอ้างอิง: 

  1. What Causes Machinery Vibration?. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 จาก https://www.machinerylubrication.com/
  2. 5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับบริการตรวจวัดการสั่นสะเทือนในโรงงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 จาก https://www.koratdaily.com/