07 ม.ค. 4 ภัยร้าย หากคุณภาพอากาศภายในอาคารไม่ได้มาตรฐาน
คุณภาพอากาศภายในอาคารมักเป็นประเด็นที่โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสำนักงานทั่วไปมองข้าม ทั้งที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงานของผู้คนภายในอาคาร ยิ่งถ้าหากคุณภาพอากาศต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ผลกระทบที่ตามมาอาจร้ายแรงกว่าที่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพ หรือผลกระทบต่อกระบวนการผลิตที่อาจทำให้เกิดข้อบกพร่องหรือความล่าช้า ซึ่งท้ายที่สุดอาจส่งผลต่อภาพรวมของการดำเนินธุรกิจได้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร
มาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality: IAQ) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือสำนักงาน โดยผู้ประกอบการสามารถควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ หากเข้าใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยรอบ
หากอาคารตั้งอยู่ใกล้แหล่งมลพิษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม การจราจรหนาแน่น หรือพื้นที่ก่อสร้าง มีโอกาสที่มลพิษจากภายนอกจะเข้าสู่อาคารผ่านระบบระบายอากาศหรือช่องเปิดต่าง ๆ ได้ การตรวจสอบและป้องกันการนำอากาศภายนอกที่ปนเปื้อนเข้าสู่อาคารจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยโดยเด็ดขาด
2. ระบบระบายอากาศ
ระบบระบายอากาศที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ อาจกลายเป็นแหล่งสะสมของฝุ่นละออง เชื้อรา และแบคทีเรีย ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปทั่วอาคารได้อย่างรวดเร็ว
3. งานปรับปรุงอาคาร
การปรับปรุงหรือซ่อมแซมอาคารอาจปล่อยฝุ่นละอองและสารเคมีสู่อากาศภายในอาคาร หากไม่มีการควบคุมที่ดี สารเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย รวมถึงผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ภายใน การวางแผนและดำเนินการปรับปรุงจึงควรคำนึงถึงการควบคุมมลพิษทางอากาศด้วย
4. วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งภายใน
วัสดุบางชนิด เช่น สีทาบ้าน กาว หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้อัด อาจปล่อยสารอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย (VOCs) สู่อากาศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงควรเลือกใช้วัสดุที่มีการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจะเป็นการดีที่สุด
5. การใช้สารเคมีในการดูแลรักษาอาคาร
น้ำยาทำความสะอาดหรือสารเคมีที่ใช้ในอาคารอาจมีส่วนประกอบที่เป็นอันตราย การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีสารเคมีต่ำจะช่วยรักษาคุณภาพอากาศภายในอาคารให้เป็นไปตามเกณฑ์ได้อีกทางหนึ่ง
6. พื้นที่ปฏิบัติการภายในอาคาร
ลักษณะการทำงานภายในอาคาร เช่น การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร การพิมพ์ หรือการทำอาหาร อาจปล่อยสารมลพิษสู่อากาศได้เช่นกัน จึงควรจัดสรรพื้นที่และติดตั้งระบบระบายอากาศที่เหมาะสม เพื่อลดการสะสมของมลพิษ
7. คนและสัตว์เลี้ยง
ผู้อยู่อาศัยและสัตว์เลี้ยงสามารถนำฝุ่นละออง เชื้อโรค หรือสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่อาคารได้ การรักษาความสะอาดส่วนบุคคลและสัตว์เลี้ยง รวมถึงการทำความสะอาดพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในอาคารได้
4 ภัยเงียบหากอากาศภายในอาคารไม่ได้มาตรฐาน
จากปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่กล่าวถึงไปข้างต้น แสดงให้เห็นว่า หากมีการละเลยในเรื่องนี้อาจนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงทั้งต่อสุขภาพและการดำเนินงานขององค์กร กับ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้
1. ปัญหาด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน
การสัมผัสกับอากาศที่ปนเปื้อนสารพิษ ฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคในระยะยาว อาจทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นหอบหืด ภูมิแพ้ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการสะสมสารเคมีในร่างกาย เช่น การป่วยจาก VOCs ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและหัวใจ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งด้วย
2. ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน
คุณภาพอากาศที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในพื้นที่ปิด ส่งผลให้พนักงานรู้สึกเหนื่อยล้า ขาดสมาธิ และมีผลกระทบต่อระดับการตัดสินใจได้
3. ความเสียหายต่อเครื่องจักรและกระบวนการผลิต
ในโรงงานอุตสาหกรรม ฝุ่นละอองและสารเคมีในอากาศอาจสะสมในเครื่องจักร ทำให้เกิดความเสียหาย เสื่อมสภาพ หรือการทำงานที่ผิดพลาด สร้างความเสียหายให้กับองค์กรอย่างมหาศาล
4. ความเสี่ยงด้านกฎหมายและภาพลักษณ์องค์กร
องค์กรที่ละเลยการควบคุมคุณภาพอากาศอาจเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีจากหน่วยงานกำกับดูแลและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้ หากคุณภาพอากาศไม่ดีจนส่งผลกระทบต่อพนักงานหรือชุมชน อาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์องค์กรในสายตาของสาธารณชนได้เช่นกัน
วิธีตรวจมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคาร
1. เครื่องวัดคุณภาพอากาศ
การใช้เครื่องวัดคุณภาพอากาศ เช่น เครื่องวัด PM2.5, CO2, หรือ VOC จะช่วยตรวจสอบมลพิษและค่าคุณภาพอากาศในพื้นที่แบบเรียลไทม์ โดยสามารถติดตั้งได้ทั้งในอาคารสำนักงานหรือโรงงานเพื่อการเฝ้าระวังต่อเนื่อง
2. บริการตรวจวัดคุณภาพอากาศโดยผู้เชี่ยวชาญ
การเลือกใช้บริการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง ช่วยให้มั่นใจได้ว่าขั้นตอนการตรวจวัดเป็นไปตามมาตรฐานและสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ครอบคลุมทั้งค่ามาตรฐานมลพิษที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝุ่นละออง สารเคมี และเชื้อโรค พร้อมให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม นำไปสู่การวางแผนแก้ไขเพื่อสร้างอากาศที่บริสุทธ์และปลอดภัยในระยะยาว เช่น การติดตั้งระบบกรองอากาศ การปรับปรุงระบบระบายอากาศ หรือการจัดการพื้นที่ปฏิบัติงานใหม่เพื่อลดการสะสมของมลพิษ
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมหรือธุรกิจประเภทใดก็ตาม การควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารให้ได้มาตรฐาน คือสิ่งที่พึงให้ความสำคัญ เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ปฏิบัติงานและชุมชนข้างเคียง เลือกใช้บริการตรวจอากาศในอาคารที่ได้มาตรฐานกับ Health & Envitech ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์สูง มั่นใจได้ว่าอากาศภายในอาคารจะปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน สร้างคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้นในระยะยาว สนใจรับคำปรึกษาหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2952-6305-9, LINE Official https://lin.ee/5oJIwdk หรืออีเมล service@healthenvi.com
ข้อมูลอ้างอิง:
- คุณภาพอากาศภายในอาคารสำนักงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 จาก http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_knowledge/phy_5_2559_indoor_air_quality.pdf