ประเภทของเสียงสำคัญต่อคุณภาพชีวิตพนักงาน

รู้จักประเภทของเสียงในโรงงานเพื่อสุขภาพที่ดีของพนักงาน

เสียงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มักถูกมองข้ามในอุตสาหกรรมโรงงาน ทั้งที่จริง ๆ แล้วมีผลกระทบสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงานโดยตรง ด้วยเหตุนี้ การเข้าใจว่าเสียงแบ่งออกเป็นกี่ประเภท รวมถึงวิธีจัดการเสียงให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการโรงงานต้องให้ความสำคัญ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

เสียงคืออะไร ?

ในทางฟิสิกส์ เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนที่เคลื่อนที่ผ่านสื่อกลาง เช่น อากาศ น้ำ หรือของแข็ง การสั่นสะเทือนเหล่านี้ถูกตรวจจับโดยหูมนุษย์ และแปลงเป็นสัญญาณเพื่อให้สมองรับรู้ ซึ่งเสียงสามารถมีความหลากหลายในเรื่องของความถี่และความเข้ม จึงส่งผลต่อประสบการณ์การรับรู้ที่แตกต่างกัน

สำหรับในบริบทของโรงงานอุตสาหกรรม เสียงมักเกิดจากเครื่องจักร การตัด การเจาะ หรือการกระทบของวัสดุ โดยเสียงเหล่านี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการได้ยินแล้ว แต่ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตและความปลอดภัยของพนักงานด้วย 

ประเภทของเสียงในโรงงานอุตสาหกรรม

เสียงในโรงงานอุตสาหกรรมสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะการเกิด ความถี่ และผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งการแบ่งว่าเสียงมีกี่ประเภทจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าใจถึงแหล่งที่มาของเสียง รวมถึงวิธีจัดการได้ดียิ่งขึ้น

แบ่งตามลักษณะการเกิด

  • เสียงต่อเนื่อง (Continuous Noise) : เป็นเสียงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาโดยไม่มีช่วงหยุด เช่น เสียงจากเครื่องจักรที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยในระยะยาว การต้องเจอกับเสียงดังต่อเนื่องอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้า เครียดสะสม ไปจนถึงอาจส่งผลเสียต่อการได้ยินถาวร
  • เสียงกระแทก (Impulse Noise) : ประเภทของเสียงที่มีความดังสูงในช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น เสียงจากเครื่องปั๊มโลหะ การระเบิด หรือเสียงกระแทกของวัสดุ ซึ่งเสียงประเภทนี้สามารถสร้างความเสียหายต่อแก้วหูหรือระบบประสาทการได้ยินหากไม่ได้รับการป้องกันที่ดี 
  • เสียงเป็นช่วง (Intermittent Noise) : เสียงที่ดังและเงียบสลับกันเป็นช่วง ๆ เช่น เสียงของเครื่องจักรที่ทำงานสลับกับช่วงหยุดพัก โดยประเภทของเสียงลักษณะนี้จะส่งผลให้พนักงานมีสมาธิลดลง

แบ่งตามความถี่

  • เสียงความถี่ต่ำ (Low-frequency Noise) : เช่น เสียงจากมอเตอร์ เครื่องอัดอากาศ หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ ถึงแม้จะไม่ดังมาก แต่ก็สร้างความรำคาญ และส่งผลต่อระบบประสาทหรือความดันโลหิตได้เช่นกัน
  • เสียงความถี่สูง (High-frequency Noise) : เช่น เสียงจากการขัด การเจียร หรือการตัดโลหะ เสียงเหล่านี้อาจส่งผลโดยตรงต่อการได้ยิน และทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรหากไม่ได้รับการป้องกัน
  • เสียงความถี่ผสม (Mixed-frequency Noise) : เกิดจากแหล่งเสียงหลายชนิดผสมผสานกัน เช่น เสียงในพื้นที่โรงงานที่มีเครื่องจักรหลากหลายประเภททำงานพร้อมกัน เสียงลักษณะนี้ซับซ้อนและยากต่อการวิเคราะห์

แบ่งตามผลกระทบต่อสุขภาพ

  • เสียงที่ส่งผลต่อการได้ยิน (Hearing-related Noise) : เสียงดังเกินระดับที่ปลอดภัย (80-85 เดซิเบลขึ้นไป) สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินทั้งแบบชั่วคราวและถาวร
  • เสียงที่สร้างความรำคาญ (Annoyance Noise) : ประเภทของเสียงที่ไม่ดังมากแต่ก่อให้เกิดความรำคาญ เช่น เสียงหึ่งของเครื่องจักรขนาดเล็ก เสียงประเภทนี้อาจไม่ส่งผลต่อการได้ยินโดยตรง แต่สร้างความเครียดในระยะยาว
  • เสียงที่ส่งผลต่อความปลอดภัย (Safety-impacting Noise) : เสียงดังที่รบกวนการสื่อสารหรือทำให้ไม่ได้ยินสัญญาณเตือน เช่น เสียงในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรหลายตัวทำงานพร้อมกัน

คนกำลังวัดความดันของเสียงในโรงงานอุตสาหกรรม

ความสำคัญของการรู้จักประเภทเสียง

การเข้าใจว่าเสียงแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ถือเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยมีความสำคัญดังนี้ 

  1. วางแผนการควบคุมเสียงได้อย่างเหมาะสม
    ความเข้าใจในประเภทของเสียงช่วยให้สามารถวางแผนมาตรการควบคุมเสียงได้อย่างเหมาะสม เช่น การติดตั้งแผ่นซับเสียง การเพิ่มผนังกั้น หรือการใช้เครื่องมือที่ลดระดับเสียงในพื้นที่เสียงดัง
  2. เลือกอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม
    การรู้จักประเภทของเสียงช่วยให้สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่ครอบหู (ear muffs) หรือที่อุดหู (ear plugs) ที่เหมาะกับลักษณะของเสียงแต่ละประเภท ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
  3. ออกแบบมาตรการป้องกันเสียงที่มีประสิทธิภาพ
    เช่น การแบ่งเขตพื้นที่เสียงดัง การจัดทำตารางเวลาให้พนักงานหมุนเวียนเข้า-ออกจากพื้นที่เสียงดัง หรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ลดเสียงลง
  4. กำหนดระยะเวลาการทำงานที่ปลอดภัย
    ความเข้าใจในระดับเสียงช่วยให้สามารถกำหนดชั่วโมงการทำงานในพื้นที่เสียงดังได้อย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานสัมผัสเสียงเกินขีดจำกัดที่ปลอดภัย

 

Health & Envitech บริการตรวจวัดความดันของเสียงสำหรับอุตสาหกรรม

เมื่อได้ทราบแล้วว่าความดังของเสียงคืออะไร มีกี่ประเภท และส่งผลกระทบอย่างไรต่อสุขภาพ ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานที่ต้องการวัดเสียงเดซิเบล เพื่อเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน และให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่ Health & Envitech พร้อมให้บริการตรวจความดันของเสียง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและระดับมาตรฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ กำหนด ไม่ว่าจะเป็นกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน, สถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งสหรัฐอเมริกา (National Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH), มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration : OSHA) และประกาศขององค์กรนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐแห่งสหรัฐอเมริกา (American Conference of Governmental Industrial Hygienist : ACGIH) สนใจรับคำปรึกษาหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2952-6305-9, LINE Official https://lin.ee/5oJIwdk หรืออีเมล service@healthenvi.com

 

ข้อมูลอ้างอิง: 

  1. Noise – Basic Information. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 จาก https://www.ccohs.ca/oshanswers/phys_agents/noise/noise_basic.html