ป้ายเตือนเกี่ยวกับอันตรายจากเสียง

ความดันของเสียงและสุขภาพ เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม !

เรียกได้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมกับ “เสียงดัง” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน เนื่องจากภายในโรงงานมีเครื่องจักรมากมาย อย่างไรก็ตาม หากคุณคือผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงาน ปัญหาเรื่องเสียงคือสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการที่พนักงานต้องทำงานในสภาพแวดล้อมแบบนี้นาน ๆ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น บทความนี้จะมาบอกถึงความเกี่ยวข้องของความดันเสียงและสุขภาพ รวมถึงอันตรายจากเสียงว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ตระหนักถึงปัญหา และหาทางป้องกัน ติดตามได้เลย

ระดับเสียงที่เป็นอันตราย

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า “ระดับเสียงที่เป็นอันตราย” คืออะไร ซึ่งระดับเสียงวัดด้วยหน่วยเดซิเบล (dB) โดยทั่วไปแล้ว เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล ถือว่าเป็นอันตรายต่อการได้ยินของมนุษย์ หากได้รับเป็นเวลานาน

ยกตัวอย่างเช่น:

  • การสนทนาปกติ: ประมาณ 60 dB
  • เสียงการจราจรในเมือง: 70-80 dB
  • เครื่องตัดหญ้า: 85-90 dB
  • คอนเสิร์ต: 110-120 dB
  • เครื่องบินเจ็ต: 140 dB

การได้ยินเสียงที่ดังเกิน 85 dB เป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรได้ และยิ่งเสียงดังมากเท่าไหร่ ระยะเวลาที่ปลอดภัยในการรับฟังก็ยิ่งสั้นลงเท่านั้น

อันตรายต่อระบบการได้ยิน

ความดันเสียงที่สูงเกินไปสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการได้ยินของเรา โดยทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

  1. การสูญเสียการได้ยินชั่วคราว (Temporary Threshold Shift): เกิดขึ้นหลังจากได้ยินเสียงดังเป็นเวลาสั้น ๆ โดยจะรู้สึกเหมือนหูอื้อหรือได้ยินเสียงไม่ชัดเจน แต่อาการจะดีขึ้นหลังจากพักผ่อนในที่เงียบ
  2. การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร (Permanent Threshold Shift): เกิดจากการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานานหรือบ่อยครั้ง ทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลายอย่างถาวรจนสูญเสียความสามารถในการได้ยินแบบไม่สามารถฟื้นฟูได้
  3. เสียงในหู (Tinnitus): อันตรายจากเสียงรูปแบบนี้คืออาการที่ได้ยินเสียงในหูโดยไม่มีแหล่งกำเนิดเสียงจากภายนอก อาจเป็นเสียงหึ่ง เสียงกริ่ง หรือเสียงอื่น ๆ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งชั่วคราวและเรื้อรัง
  4. ความไวต่อเสียง (Hyperacusis): ภาวะที่หูไวต่อเสียงมากกว่าปกติ ส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือรำคาญเมื่อได้ยินเสียงที่คนทั่วไปรับฟังได้โดยไม่มีปัญหา

ความดันเสียงและสุขภาพเกี่ยวกับระบบการได้ยินเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้หลายคนกว่าจะสังเกตก็อาจสายเกินไปแล้ว นี่คือเหตุผลสำคัญที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญของอันตรายจากเสียงเพื่อหาแนวทางป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ

อันตรายต่อระบบประสาท

นอกจากผลกระทบต่อการได้ยินแล้ว อันตรายจากเสียงยังส่งผลต่อระบบประสาทของเราด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้

  1. ความเครียดและวิตกกังวล: เสียงดังต่อเนื่องมีส่วนกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล ทำให้รู้สึกเครียด วิตกกังวล และหงุดหงิดง่าย
  2. ปัญหาการนอนหลับ: การสัมผัสเสียงดังในระหว่างวันหรือแม้แต่เสียงรบกวนในเวลากลางคืน ย่อมส่งผลต่อคุณภาพการนอน ทำให้นอนหลับยาก หรือตื่นบ่อยในระหว่างคืน
  3. ความบกพร่องทางสติปัญญา: การต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเสียงดังเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อความสามารถในการคิด การจดจำ และการเรียนรู้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ
  4. ปัญหาสุขภาพจิต: ความเครียดจากเสียงรบกวนสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล

ผู้ประกอบการควรตระหนักว่า อันตรายจากเสียงต่อระบบประสาทเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขภาพของพนักงานเท่านั้น แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานและผลผลิตขององค์กรด้วย

อันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

ความดันเสียงไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อหูและระบบประสาทเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลร้ายแรงต่อระบบหัวใจหลอดเลือดได้อีกด้วย ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยตระหนักรู้มาก่อน ทำให้มองข้ามจนเกิดปัญหาสุขภาพเหล่านี้ตามมา

  1. ความดันโลหิตสูง: การสัมผัสเสียงดังเป็นประจำส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  2. เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ: ผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว
  3. การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนความเครียด: เสียงดังกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เช่น อะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ซึ่งเมื่อมีระดับสูงเป็นเวลานาน ผลที่ตามมาคือระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ด้อยประสิทธิภาพลง
  4. การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจ: อันตรายจากเสียงทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นหรือผิดจังหวะ โดยหากเกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในระยะยาว

ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจึงควรตระหนักถึงความดันเสียงและสุขภาพ และหาแนวทางป้องกันให้แก่พนักงานจากความดันเสียงที่เป็นอันตราย เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องการได้ยินเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยระยะยาวและการขาดงานได้อีกด้วย

พนักงานสวมใส่อุปกรณ์เพื่อป้องกันอันตรายจากเสียง

วิธีป้องกันอันตรายจากความดันเสียง

สำหรับผู้ประกอบการ การป้องกันอันตรายจากเสียงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงาน โดยวิธีการป้องกันที่ควรนำไปปรับใช้มีดังนี้

  1. การประเมินและตรวจสอบระดับเสียง: ควรทำการตรวจวัดระดับความดันเสียงในสถานที่ทำงานเป็นประจำ เพื่อตรวจสอบว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยหรือไม่ หากพบว่าเสียงเกินมาตรฐาน ก็ต้องมีมาตรการแก้ไข เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ลดเสียงหรือฉนวนกันเสียง
  2. การใช้เครื่องป้องกันการได้ยิน: พนักงานที่ต้องสัมผัสกับเสียงดังควรได้รับการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่ครอบหูหรือปลั๊กอุดหู โดยอุปกรณ์เหล่านี้ช่วยลดระดับเสียงที่เข้าสู่หูได้มากถึง 20-30 dB ขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์
  3. การจำกัดเวลาการสัมผัสกับเสียงดัง: ผู้ประกอบการควรจัดการเวลาการทำงานให้พนักงานที่สัมผัสกับเสียงดังขณะทำงานในช่วงเวลาสั้น ๆ และมีการพักเพื่อลดผลกระทบจากเสียง รวมถึงพิจารณาการหมุนเวียนงานที่ต้องสัมผัสเสียงดังเพื่อลดความเสี่ยง
  4. การให้ความรู้และการฝึกอบรม: พนักงานควรได้รับการฝึกอบรมเรื่องอันตรายจากเสียงและวิธีการป้องกัน เช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน การดูแลสุขภาพหู และการตรวจสอบสัญญาณเตือนของอาการป่วยที่เกิดจากเสียงดัง
  5. การติดตั้งอุปกรณ์ลดเสียงในที่ทำงาน: ในกรณีที่ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเป็นประจำ ผู้ประกอบการควรติดตั้งอุปกรณ์ลดเสียงในเครื่องจักร หรือวางแผนปรับปรุงสถานที่ทำงานเพื่อลดอันตรายจากเสียงให้ได้มากที่สุด

Health & Envitech บริการตรวจวัดระดับเสียงในที่ทำงานที่ได้มาตรฐาน

สำหรับผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานที่ต้องการวัดเสียงเดซิเบล เพื่อเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน และให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่ Health & Envitech พร้อมให้บริการตรวจความดันของเสียง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและระดับมาตรฐานที่หน่วยงานต่าง ๆ กำหนด ไม่ว่าจะเป็นกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งสหรัฐอเมริกา (National Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration : OSHA) และประกาศขององค์กรนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐแห่งสหรัฐอเมริกา (American Conference of Governmental Industrial Hygienist : ACGIH) สนใจรับคำปรึกษาหรือข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 0-2952-6305-9, LINE Official https://lin.ee/5oJIwdk หรืออีเมล service@healthenvi.com

ข้อมูลอ้างอิง: 

General information How does noise affect our hearing?. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 จาก https://www.ilo.org/media/289506/download